กิจกรรม 25 พฤศจิกายน 2553

กิจกรรม 25 พ.ย. 53                                                                         
ข้อ 77                                                                                           

สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.darasart.com/startonight/planet/planet.htm
ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์
 


  ดาวพุธ (Mercury)  ดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเร็วที่สุด มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นมากเพียง 88 วัน ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวพุธจากซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกหนึ่งกินเวลาเพียง 44 วันหรือราวเดือนครึ่ง เราจะมองเห็นดาวพุธได้ในระดับต่ำทางของฟ้าตะวันออกหรือขอบฟ้าตะวันตกเท่านั้น ตำแหน่งที่เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ดีที่สุดคือตำแหน่งที่เรียกว่า Greatest Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอยู่สองตำแหน่งคือ

   1) Greatest Elongation
West (GEW) หรือสูงสุดทางขอบฟ้าซีกตะวันออกจะเห็นได้ก่อนรุ่งเช้า 
   2) Greatest Elongation
East  (GEE) หรือสูงสุดทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเห็นได้หลังอาทิตย์ตก

     ซึ่งจะทำให้ดาวพุธอยู่สูงสุดบนขอบฟ้าได้ราว 28 องศา (แต่ในความเป็นจริงเราเห็นดาวพุธได้สูงไม่เกิน 17 องศา เนื่องจากต้องรอให้แสงอาทิตย์อ่อนไปเสียก่อน) ทั้งสองตำแหน่งจะทิ้งระยะเวลาห่างกันราวเดือนครึ่ง โดยที่ดาวพุธจะมีความสว่างสูงสุด -0.45
      ตำแหน่งที่เราไม่สามารถมองเห็นดาวพุธได้มีอีก 2 ตำแหน่ง คือ
    
1) Inferier conjunction หรือตำแหน่งหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือทำให้ดาวพุธมีโอกาส Transit ดวงอาทิตย์ด้วยแต่ก็ไม่ทุกครั้ง ดาวพุธจะมีขนาดเชิงมุมสูงสุด 12 arcsec หรือ 1 ส่วน 6000 เท่าของดวงจันทร์ เมื่ออยู่ใกล้โลกหรือที่ตำแหน่ง inferier conjunction นี้เอง   และ
 
    2) ตำแหน่ง Superier conjunction หรือตำแหน่งด้านหลังดวงอาทิตย์ ก็เป็นตำแหน่งที่เราไม่เห็นดาวพุธเช่นกัน และเป็นตำแหน่งที่ดาวพุธอยู่ห่างจากโลกที่สุด และมีขนาดเชิงมุมเล็กสุดกว้างราว 5 arcsec เท่านั้น 
     ดังนั้นการเลือกใช้กำลังขยายของกล้องดูดาวสูงสุดที่ 300 เท่า จะช่วยให้เห็นดาวพุธมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียง 1 ใน 50 ส่วนของฟิลด์ภาพเท่านั้น 


ข้อ 78                                                                                          



สืบค้นข้อมูล
ที่มา :  http://tc.mengrai.ac.th/sinuan/test/Se/p9.htm
ของเหลวที่ได้จากภูเขาไฟคือ ลาวา ปริมาณของหินหลอมเหลวร้อนระอุ โดยทั่วไปลาวา
ปะทุจากปากปล่องบนยอดภูเขาไฟ แต่พบไม่บ่อยที่ลาวาได้แตกทะลักออกมาทางด้านข้างปล่องและเล็ดลอดออกมาตามรอย แตกที่ได้พัฒนาตัวมาตามเขตพังทลายง่ายในเหล่าบรรดาลาวามีสมบัติทางเคมีและ ทางกายภาพต่างกัน และสมบัติเหล่านี้อาจสะท้อนถึงรูปแบบภูเขาไฟปะทุ นอกจากนี้องค์ประกอบทางเคมีขอu3591 .ลาวาก็มีอิทธิพลต่อความหนืด ซึ่งส่งผลกระทบอัตราและระยะทางในการไหลหลาก และยังผลต่อถึงรูปทรงกรวยภูเขาไฟได้เช่นกัน และจะทำให้มีบางสิ่งบนโครงสร้างผิวของหินที่เกิดขึ้น เมื่อหินที่หลอมเหลวแข็งตัว

เนื่องจากลาวามีลักษณะต่างกัน นักธรณีวิทยาได้จำแนกพวกนี้ออกเป็นสภาพกรด สภาพด่างและสภาพกลาง ลาวาสภาพกรดมีปริมาณซิลิกาสูง (ร้อยละ 65-75) มักมีความหนืดสูงและปะทุบ่อยลาวาสภาพด่างมีซิลิกาต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 50) ความหนืดน้อยและไม่ค่อยปะทุ เพราะแก๊สที่ละลายปนสามารถเล็ดลอดออกจากลาวาที่มีความเหลวมากกว่าได้ง่าย ลาวาสภาพกลางมีปริมาณซิลิกาอยู่ระหว่างสภาพกรดและด่าง ร้อยละ 50-60      องค์ประกอบของลาวาและวิธีการเย็นตัวลงและแข็งตัวบ่อยครั้งสะท้อนถึงโครงสร้างผิวของหิน บางครั้งลาวาทะลักขึ้นมามีแรงไม่พอ ทำให้ลาวาแข็งตัวรอบบ่อนั้นเกิดเป็น ลาวากรวยสาดกระเซ็น (spatter cone)   เมื่อลาวาหลากไหลบ่าไปบนพื้นผิวโลกมีการเย็นตัวลงและลดความดัน โดยยอมให้แก๊สที่กักอยู่เล็ดลอด แก๊สที่เล็ดลอดเหล่านี้ทำให้เกิดฟองอากาศ เมื่อลาวาเย็นตัวได้รูพรุนว่างเปล่า ลาวาปนกรวดภูเขาไฟแข็งขึ้น ประกอบด้วยรูขรุขระมากมาย เรียกว่า ตะกรันภูเขาไฟ(scoria) หากผิวลาวาปกคลุมด้วยแท่งหนามแหลมของตะกรันภูเขาไฟ เรียกว่า อาอา (aa) และลาวาที่มีผิวค่อนข้างเรียบแบบคลื่นหรือผิวเกลียว เรียกว่า ลาวาปาฮอยฮอย (pahoehoe) ทั้งสองพจน์นี้มีกำเนิดมาจากหมู่เกาะฮาวาย เป็นสถานที่พบแบบฉบับการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก



ข้อ 79                                                                                           






สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=153.0
เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากชนกันของขอบทวีปตรงส่วนที่เป็นแผ่นดิน   ระหว่างอินเดียกับทวีปเอเชีย   จนดันเปลือกโลกให้ดันตัวสูงขึ้นมา 
   เทือกเขาหิมาลัยนี้เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก  โดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ระดับ 5  กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยอดเขาเอเวอเรสต์บนเทือกเขาหิมาลัยสูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ 8.8 กิโลเมตร (8,844 เมตร) ที่รู้จักกันดี คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์  และถูกพิชิตโดยนักไต่เขาชาวอังกฤษเมื่อปี 1953
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล — เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ

ข้อ 80                                                                                           




สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://school.obec.go.th/mml_srisaang/know_5.htm
หินดินดาน  เกิดจากการทับถมของโคลนและดินเหนียวเป็นเวลานาน ๆ มีลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ เนื้อหินละเอียดมาก กะเทาะหรือหลุดเป็นแผ่นได้ง่าย เหมาะสำหรับใช้ผสมปูนซีเมนต์

ข้อ 81                                                                                           


สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7
แผ่นดินไหวในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเซียนซึ่งล้อมรอบด้วยแผ่นเปลือก โลก 2 แผ่นคือ แผ่นมหาสมุทรอินเดีย และแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก แผ่นดินไหวมักเกิดมากบริเวณตรง รอยต่อระหว่างแผ่น ในขณะที่บริเวณภายในแผ่นมีแผ่นดินไหวเกิดน้อยกว่า และมักไม่รุนแรง โดยมากเกิดตามแนวของ รอยเลื่อนใหญ่ ๆ ประเทศไทยอยู่ในเขตที่ถือว่าค่อนข้างปลอดแผ่นดินไหวพอสมควร แต่จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 1558 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทำให้บริเวณโยนกนครยุบจมลงเกิดเป็นหนองน้ำใหญ่ จวบจน พ.ศ. 2088 ก็เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นครเชียงใหม่ จนยอดเจดีย์หลวงสูง 86 เมตร หักพังลงมาเหลือ 60 เมตร นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 550 ปีมาแล้ว ก็ไม่เคยมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็นในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2455 ได้มีการผลิตเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวขึ้นมาใช้ในโลก และมีเครือข่ายถึงกัน ก็มีรายงานแผ่นดินไหวให้ทราบตลอดมาว่า แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่มีขนาดเล็กสามารถตรวจสอบได้จาก เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น ข้อมูลแผ่นดินไหวครั้งสำคัญที่ตรวจพบในประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดน่าน มีขนาด 6.5 ริคเตอร์ ใกล้กับรอยเลื่อนปัว เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในป่าเขา ไม่มีบันทึกความเสียหาย สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สามารถรู้สึกได้ที่กรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งอยู่ใกล้แนว รอยเลื่อนเมย-วังเจ้า มีขนาดความรุนแรง 5.6 ริคเตอร์ และขนาดความรุนแรง 5.9 ริคเตอร์ โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวใกล้อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ หลังจากนั้นแผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้น บ่อยครั้ง แต่ไม่ค่อยรุนแรง สำหรับกรณีที่เกิดจนเกิดความเสียหายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2537 ที่บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และใกล้เคียง ก่อให้เกิดความเสียหายมากกับโรงพยาบาลอำเภอพาน รวมทั้งวัด และโรงเรียนต่าง ๆ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่บริเวณอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีความรุนแรงขนาด 5.1 ริคเตอร์ และอีกหลายครั้งตามมาในปี พ.ศ. 2538 และ 2539 ในบริเวณจังหวัดเชียงราย และใกล้เคียง รวมทั้งบริเวณชายแดนไทย-ลาว และไทย-พม่า


ข้อ 82                                                                                          



สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://blog.eduzones.com/tenny/3386
ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

     นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปเป็นทฤษฎีอธิบายสาเหตุการเกิดของแผ่นดินไหว ในปัจจุบันทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plate Tectonics Theory) ได้รับการยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีว่าด้วยทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift) ของอัลเฟรด โลทาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener พ.ศ. 2423 - 2473 นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน) ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมา แฮร์รี แฮมมอนด์ เฮสส์ (Harry Hammond Hess พ.ศ. 2449 - 2412 นักธรณีวิทยา ชาวอเมริกัน) ได้เสนอแนวคิด ที่พัฒนาใหม่นี้ในทศวรรษ 2500

     ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์มีสภาพเป็นกลุ่มก๊าซร้อน ต่อมาเย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน แต่เนื่องจากบริเวณ ผิวเย็นตัวลงได้เร็วกว่าจึงแข็งตัวก่อน ส่วนกลางของโลกยังคงประกอบด้วยของธาตุหนักหลอมเหลว ในทางธรณีวิทยา ได้แบ่งโครงสร้างของโลกออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก (mantle) และแก่นโลก (core) เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุด ของโลก จนถึงระดับความลึกประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรณีภาคชั้นนอก หรือลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ใต้ชั้นนี้ลงไปเป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลก เรียกว่า ฐานธรณีภาค หรือแอสเทโนสเฟียร์ (asthenosphere) มีลักษณะเป็นหินละลายหลอมเหลวที่เรียกว่า หินหนืด (magma) มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ อยู่ลึกจากผิวโลกลงไป 100 - 350 กิโลเมตร ใต้จากฐานธรณีภาคลงไป ยังคงเป็นส่วนที่เป็นเนื้อ โลกอยู่ จนกระทั่งถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตรจากผิวโลก จึงเปลี่ยน เป็นชั้นแก่นโลก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อย คือ แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน โดยแก่นโลกชั้นในนั้นจะอยู่ลึกสุดจนถึงจุด ศูนย์กลางของโลก ที่ระดับความลึก 6,370 กิโลเมตร จากผิวโลก
     การเกิดแผ่นดินไหวนั้น ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะที่ชั้นของเปลือกโลก โดยที่เปลือกโลกไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากว่าเมื่อของเหลวที่ร้อนจัดปะทะชั้นแผ่นเปลือกโลก ก็จะดันตัวออกมา แนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นแนวที่เปราะบางและเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดมาก จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ทำให้สามารถประมาณการแบ่งของแผ่นเปลือกโลกได้เป็น 15 แผ่น คือ
     - แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate)
     - แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate)
     - แผ่นออสเตรเลีย (Australian Plate)
     - แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate)
     - แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate)
     - แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate)
     - แผ่นสโกเชีย (Scotia Plate)
     - แผ่นแอฟริกา (African Plate)
     - แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate)
     - แผ่นนัซกา (Nazca Plate)
     - แผ่นโคโคส (Cocos Plate)
     - แผ่นแคริบเบียน (Caribbean Plate)
     - แผ่นอินเดีย (Indian Plate)
     - แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate)
     - แผ่นอาหรับ (Arabian Plate)
     แผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้วไม่ได้อยู่นิ่ง แต่มีการเคลื่อนที่คล้ายการเคลื่อนย้ายวัตถุบนสายพานลำเลียงสิ่งของ จากผลการสำรวจท้องมหาสมุทรในช่วงทศวรรษ 2490 พบว่า มีแนวสันเขากลางมหาสมุทร รอบโลก (Global Mid Ocean Ridge) ซึ่งมีความยาวกว่า 50,000 กิโลเมตร กว้างกว่า 800 กิโลเมตร จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา พบว่า หินบริเวณสันเขาเป็นหินใหม่ มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกมา จึงได้มีการตั้งทฤษฎีว่า แนวสันเขากลางมหาสมุทรนี้คือ รอยแตกกึ่งกลางมหาสมุทร รอยแตกนี้เป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลกดันออกจากกันทีละน้อย รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆ

ข้อ 83                                                                                           


สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.ipst.ac.th/science/know_08.shtml
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนโลก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นลำดับหลัง ๆ มีการเปรียบเทียบ โดยสมมุติว่าถ้าโลกกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม… มนุษย์ก็ควรเกิดขึ้นบนโลกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม… มนุษย์จึงมีข้อจำกัดเป็นอย่างมากในการที่จะสืบสาวเล่าเรื่องประวัติความเป็น มาอันยิ่งใหญ่ของโลกที่ตัวเองอาศัยอยู่ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรามีอายุเฉลี่ยอยู่บนโลกไม่เกิน 100 ปี จัดเป็นระยะเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะใช้อะไรเป็นหลักฐานเพื่อทราบเรื่องราวของโลก ดิน หิน แร่ ที่ประกอบกันเป็นภูเขา แผ่นดิน หรือท้องทะเล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาให้มนุษย์ขบคิดมาเป็นเวลานาน เพื่อหาคำตอบให้กับประวัติความเป็นมาของโลก และแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ จากการศึกษาค้นคว้าเป็นลำดับจนในที่สุด นักธรณีวิทยาพบว่าในบรรดาหลักฐานทั้งหลายที่ได้ศึกษากันมานั้น ซากดึกดำบรรพ์ที่ประทับรอยไว้ในหิน เป็นหลักฐานหนึ่งที่ให้คำตอบเกี่ยวกับประวัติของโลกได้เป็นอย่างดี
“ซากดึกดำบรรพ์” เป็นร่องรอยของพืชและสัตว์ ที่ปรากฏอยู่ในหิน ส่วนมากจะพบในหินตะกอนมากกว่าหินชนิดอื่น อาจพบในหินภูเขาไฟบ้างแต่น้อยมาก ซากดึกดำบรรพ์ในหินจะบ่งถึงสภาพแวดล้อม และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นในขณะเวลาที่เกิดการสะสมตะกอน

ซากดึกดำบรรพ์ของไครนอยด์ที่พบในหิน แอนดีไซต์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่เขาชนโถ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเล ที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้ ส่วนที่เห็นเป็นสีขาวในภาพ เป็นส่วนลำต้นทั้งด้านตัดตามยาว และตัดขวาง (ที่มีรูตรงกลาง) อายุประมาณ 250 ล้านปี

ข้อ 84                                                                                           


สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-13237.html
ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
ชั้นเนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก ประมาณ 2,900 กิโลเมตร ใต้ตำแหน่ง Moho ลงไป ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวทั้งที่เป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าชั้นเนื้อโลกประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่มี ความหนาแน่นสูง และการที่คลื่นทุติยภูมิสามารถเดินทางในชั้นเนื้อโลกได้ย่อมแสดงว่าชั้น เนื้อโลกเป็นของแข็ง ส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ แต่อย่างไรก็ดีส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกยังมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวมากกว่า ชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
1. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) ประกอบด้วย dunite, echogite และ peridotite
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (lower mantle) ประกอบด้วยสารจำพวก oxides และ silicate




1 ความคิดเห็น:

  1. งานนี้สมบูรณ์ดีแต่ไม่ค่อยสวย
    ผมให้คะแนน 85 คะแนน

    ตอบลบ