วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานคะแนนเก็บทั้งหมด

คะแนนเก็บทั้งหมด 1,539 คะแนน ข้าพเจ้าทำได้ 1,220 คะแนน
และมีจำนวนลายเซ็น/stampชื่อครู 3 ครั้ง

รายงานความดี
1.ได้เป็นพี่เลี้ยงเข้าค่ายลูกเสือ ม.1(ได้รับรางวัลพี่เลี้ยงดีเด่น)
2.ได้ประดิษฐ์โครงงานวิทย์แข่งขันระดับเขต

3.ไปรับส่งน้องโรงเรียนทุกวัน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สืบค้นข้อสอบรื่องการเคลื่อนที่ , สนามแม่เหล็ก

  1. ข้อสอบเรื่องการเคลื่อนที่
    1.วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ได้ครึ่งรูปวงกลม ที่มีรัศมี 10 เมตร จงหาระยะทาง
    ก. 10 เมตร
    ข. 15.7 เมตร
    ค. 20 เมตร
    ง. 25.6 เมตร

    ตอบข้อ ข. 15.7 เมตร

    2.วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่เป็นวงกลมรัศมี 7 เมตร เมื่อวัตถุเคลื่อนที่กลับมาที่เดิมจะได้การกระจัดเท่าใด
    ก. 0
    ข. 7
    ค. 14
    ง. 49

    ตอบข้อ ก. 0

    3.ข้อใดคือปริมาณเวกเตอร์
    ก. ระยะทาง,เวลา
    ข. ความเร่ง,มวล
    ค. ความเร็ว,การกระจัด
    ง. นำหนัก,มวล

    ตอบข้อ ค.ความเร็ว,การกระจัด

    4.ข้อใดเป็นหน่วยมาตรฐานของเวลา
    ก. วินาที
    ข. นาที
    ค. ชั่วโมง
    ง. มิลลิวินาที

    ตอบ ก.วินาที

    5.นายดำ วิ่งด้วยความเร็ว 5m/s ได้ทาง 50 m แล้วเดินต่อด้วยความเร็ว 1m/s ได้ระยะทาง 30 เมตร จงหาความเร็วเฉลี่ย
    ก. 1 เมตร/วินาที
    ข. 2 เมตร/วินาที
    ค. 3 เมตร/วินาที
    ง. 4 เมตร/วินาที

    ตอบ ก. 1เมตร/วินาที

    ที่มาข้อสอบ : http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/2/2/test/test4/t01.html



รายงานการส่งงานทั้งหมด

รายงานการส่งงาน

กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 17 พฤศจิกายน 2553 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 25 พฤศจิกายน 2553 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 1 ธันวาคม 2553
กิจกรรม 15 ธันวาคม 2553 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 22 ธันวาคม 2553 ปริมาณงาน 100 %
กิจกรรม 5 มกราคม 2554 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 12 มกราคม 2554 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 19 มกราคม 2554 ปริมาณงาน 100%
กิจกรรม 26 มกราคม 2554 ปริมาณงาน 100%

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 2 กุมภาพันธ์ 2554


กิจกรรม 2 ก.พ.. 54
ข้อ45
สืบค้นข้อมูล
อัตราเร็วของรถยนต์คงที่มา 20 เมตรต่อวินาที และระยะทางที่รถยนต์เคลื่อนที่ได้ 500 เมตร และโจทย์ต้องการหาเวลาที่รถยนต์เคลื่อนที่เป็นเวลาเท่าใด
เราสามารถใช้สูตรการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ได้เลย

เมื่อ v = 20 m/s ,s = 500 m , t = ? s
จะได้ 20 = 500/t
t = 500/20
t = 25 วินาที

ตอบ ข้อ4.
ข้อ46

สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/un12.html
ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องของการเคลื่อนที่ ซึ่งในการเคลื่อนที่จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน
Y วัตถุที่เคลื่อนที่ จะหมายจึงวัตถุที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่คงรูปทรงอยู่ได้

Y ผู้สังเกต เป็นผู้ที่ศึกษาวัตถุที่เคลื่อนที่ โดยผู้สังเกตจะต้องอยู่นอกวัตถุที่เคลื่อนที่

Y จุดอ้างอิง การเคลื่อนที่ของวัตถุจะต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุดังนั้นเราจะต้องมีจุดอ้างอิง
เพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุเมื่อเวลาผ่านไป

1. ระยะทาง (Distance) การเคลื่อนที่ของวัตถุจะเริ่มนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เราสังเกตเป็นจุดอ้างอิงแล้ววัดระยะทางตามแนวทางที่วัตถุเคลื่อนที่
ไปตามแนวทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ


2. การกระจัด (Displacement) เป็นการบอกตำแหน่งของวัตถุหลังจากการที่เคลื่อนที่ไปแล้วในช่วงเวลาหนึ่งโดยจะบอกว่าห่างจากจุดเริ่มต้นเป็นระยะ
เท่าไร และอยู่ทางทิศไหนของจุดเริ่มต้น ดังนั้นการกระจัดเป็น ปริมาณเวกเตอร์ เพราะมีทั้งขนาดและทิศทาง
*********ถ้าวัตถุเคลื่อนที่กลับมาสู่จุดเริ่มต้น การกระจัดจะมีค่าเป็นศูนย์**********


3. เวลา (Time) การวัดเวลาเรานับ ณ จุดเริ่มสังเกต ซึ่งขณะนั้นวัตถุอาจจะหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่อยู่ก็ตาม ค่าของเวลาจะมีความสัมพันธ์กับระยะทาง เมื่อเวลาผ่านไป ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ก็จะเพิ่มขึ้น ในบางครั้งอาจจะมีข้อมูลของระยะทางกับเวลาสัมพันธ์กัน


4. อัตราเร็ว (Speed) หมายถึง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที



V แทน อัตราเร็ว มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที (m/s)

S แทน ระยะทาง มีหน่วยเป็น เมตร (m)

t แทน เวลา มีหน่วยเป็น วินาที (s )


5. ความเร็ว (Velocity) หมายถึง การกระจัดของวัตถุที่เปลี่ยนไปในหน่วยเวลา



แทน ความเร็ว มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที (m/s)

แทน การกระจัด มีหน่วยเป็น เมตร (m)

t แทน เวลา มีหน่วยเป็น วินาที (s )



6. ความเร่ง (Acceleration) ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา


แทน ความเร่ง มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที2 (m/s2 )

แทนความเร็วที่เปลี่ยนไป มีหน่วยเป็น เมตร/ วินาที(m/s)

แทน เวลา มีหน่วยเป็น วินาที (s )


ลักษณะของการเคลื่อนที่
ลักษณะของการเคลื่อนที่แบ่งได้ 4 ลักษณะ คือ

1. การเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง
ลักษณะของการเคลื่อนที่แบบนี้เป็นพื้นฐานของการเคลื่อนที่ เพราะทิศทางการเคลื่อนที่จะมีทิศทางเดียว
แต่อาจจะเคลื่อนที่ไป-กลับได้ รูปแบบการเคลื่อนที่อาจจะแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น

- การเคลื่อนที่ของรถไฟบนราง

- การเคลื่อนที่ของรถบนถนนที่เป็นแนวเส้นตรง

- การเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก


2. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีแนวเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นรูปโค้งพาราโบลา และเป็นพาราโบลาทางแกน y
ที่มีลักษณะคว่ำการที่วัตถุเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นโค้งเนื่องจากวัตถุเคลื่อนที่เข้าไปในบริเวณที่มีแรงกระทำต่อ
วัตถุไม่อยู่ในแนวเดียวกับทิศของการเคลื่อนที่


3. การเคลื่อนที่แบบวงกลม
เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบจุดๆหนึ่ง โดยมีรัศมีคงที่ การเคลื่อนที่เป็นวงกลม
ทิศทางของการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความเร็วของวัตถุจะเปลี่ยนไปตลอดเวลา ทิศของแรงที่กระทำจะตั้งฉากกับทิศของการเคลื่อนที่
แรงที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลาง เราจึงเรียกว่า “แรงสู่ศูนย์กลาง”
ในขณะเดียวกัน จะมีแรงต้านที่ไม่ให้วัตถุเข้าสู่ศูนย์กลาง เราเรียกว่า “แรงหนีศูนย์กลาง” แรงหนีศูนย์กลางจะเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง วัตถุจึงจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้


4. การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
ลักษณะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย จะเป็นการเคลื่อนที่ที่มีลักษณะ
พิเศษ คือ วัตถุจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมาที่เราเรียกว่า แกว่ง หรือ สั่น การเคลื่อนที่แบบนี้จะเป็นการเคลื่อนที่อยู่ในช่วงสั้นๆ มีขอบเขตจำกัด เราเรียกว่า แอมพลิจูด (Amplitude) โดยนับจากตำแหน่งสมดุล ซึ่งอยู่ตรงจุดกลางวัดไปทางซ้ายหรือขวา เช่น การแกว่งของชิงช้า หรือยานไวกิงในสวนสนุก


ตอบ ข้อ 1.
ข้อ 47
สืบค้นข้อมูล
แนวของแรงทางไฟฟ้าที่แผ่กระจายอยู่รอบ ๆ ประจำทำให้เกิดสนามไฟฟ้าซึ่งสายตาจะมองไม่เห็นแต่สังเกตุได้จากผลการกระทำของแรง

ตอบ ข้อ 4.
ข้อ 48
สืบค้นข้อมูล
คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สมมารถทำได้โดยช่วงระยะเวลาหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น

ตอบ ข้อ 1.
ข้อ 49
สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm
คลื่นเกิดจากการส่งต่อพลังงานของอนุภาคตัวกลางจากอนุภาคหนึ่งไปยังอนุภาคที่อยู่ข้างเคียง ขณะที่เกิดคลื่นขึ้นทุกอนุภาคบน ตัวกลางก็จะสั่นกลับมารอบตำแหน่งสมดุลโดยไม่มีการเคลื่อนที่ตามคลื่นไป ลักษณะคลื่นแบบนี้เรียกว่า คลื่นกล (mechanical waves) เช่นเมื่อมีการรบกวนบนผิวน้ำนิ่งโดยการโยนก้อนหินลงไปในสระ อนุภาคของน้ำจะสั่นขึ้นและลงรอบตำแหน่งสมดุล ทำให้ เกิดเป็นคลื่นขึ้น โดยคลื่นจะแผ่จากตำแหน่งที่ก้อนหินกระทบผิวน้ำออกไปรอบ ๆ ตำแหน่งนั้นทุกทิศทางเป็นรูปวงกลม ติดต่อกันไป

ตอบ ข้อ 2.

ข้อ 62
สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.thairunning.com/force_run.htm
หากต้องการเพิ่มอัตราเร็วในการวิ่งก็ต้องหาวิธีเพิ่มความถี่ในการก้าวและความยาวของก้าว ตัวอย่างเช่น นักวิ่งระยะสั้นคนหนึ่งมีความถี่ในการวิ่งโดยเฉลี่ยวินาทีละ 4.6 ก้าว ความยาวของก้าวโดยเฉลี่ยคือ 1.8 เมตร ดังนั้นอัตราเร็วโดยเฉลี่ยจึงเท่ากับ 8.28 เมตร/วินาที หากเป็นการวิ่งระยะ 100 เมตร อัตราเร็วดังกล่าวต้องใช้เวลา 12.1 วินาที

ตอบ ข้อ 3.

ข้อ 63
สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.school.net.th/library/snet3/jee/distance/DISTANCE.HTM
ในขณะที่เราเคลื่อนที่ เราจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ตลอดแนว เช่น ขณะเราขับรถยนต์ไปตามท้องถนน เราจะเคลื่อนที่ผ่านถนน ถนนอาจเป็นทางตรง ทางโค้ง หรือหักเป็นมุมฉาก ระยะทางที่รถเคลื่อนที่อาจเป็นระยะทางตามตัวเลขที่ราบของการเคลื่อนที่ แต่หากบางครั้งเราจะพบว่า จุดปลายทางที่เราเดินทางห่างจากจุดต้นทางในแนวเส้นตรง หรือในแนวสายตาไม่มากนัก

ตอบ ข้อ 2.

ข้อ 64
สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว

ตอบ ข้อ 3.

ข้อ 65

สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

ตอบ ข้อ3.

ข้อ 66

สืบค้นข้อมูล
ที่มา: http://tamiya.co.th/tamiyaforum/index.php?topic=476.75;wap2
แรงต้านของอากาศ = 1/2 d.V^2.A.Cd
เมื่อให้ d = ความหนาแน่นของอากาศ
V = ความเร็วของรถยนต์
A = พื้นที่หน้าตัดของรถยนต์
Cd = สัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศของรูปทรงรถยนต์
^2 = ยกกำลังสอง


ตอบ ข้อ2.

ข้อ 67
สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
ในทางฟิสิกส์ ความเร็ว คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) ในหน่วยเอสไอ ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอัตราเร็วและทิศทาง ขนาดของความเร็วคืออัตราเร็วซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์ ตัวอย่างเช่น "5 เมตรต่อวินาที" เป็นอัตราเร็ว ในขณะที่ "5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศตะวันออก" เป็นความเร็ว ความเร็วเฉลี่ย v ของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปด้วยการกระจัดขนาดหนึ่ง ∆x ในช่วงเวลาหนึ่ง ∆t สามารถอธิบายได้ด้วยสูตรนี้
อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็วคือความเร่ง คือการอธิบายว่าอัตราเร็วและทิศทางของวัตถุเปลี่ยนไปอย่างไรในช่วงเวลาหนึ่ง และเปลี่ยนไปอย่างไร ณ เวลาหนึ่ง
สมการการเคลื่อนที่
ดูบทความหลักที่ สมการการเคลื่อนที่
เวกเตอร์ความเร็วขณะหนึ่ง v ของวัตถุที่มีตำแหน่ง x (t) ณ เวลา t และตำแหน่ง x (t + ∆t) ณ เวลา t + ∆t สามารถคำนวณได้จากอนุพันธ์ของตำแหน่ง
สมการของความเร็วของวัตถุยังสามารถหาได้จากปริพันธ์ของสมการของความเร่ง ที่วัตถุเคลื่อนที่ตั้งแต่เวลา t0 ไปยังเวลา tn
วัตถุที่มีความเร็วเริ่มต้นเป็น u มีความเร็วสุดท้ายเป็น v และมีความเร่งคงตัว a ในช่วงเวลาหนึ่ง ∆t ความเร็วสุดท้ายหาได้จาก
ความเร็วเฉลี่ยอันเกิดจากความความเร่งคงตัวจึงเป็น ตำแหน่ง x ที่เปลี่ยนไปของวัตถุดังกล่าวในช่วงเวลานั้นหาได้จาก
กรณีที่ทราบเพียงความเร็วเริ่มต้นของวัตถุเพียงอย่างเดียว คำนวณได้ดังนี้
และเมื่อต้องการหาตำแหน่ง ณ เวลา t ใด ๆ ก็สามารถขยายนิพจน์ได้ดังนี้

ตอบ ข้อ1.

ข้อ68
สืบค้นข้อมูล
ที่มา : http://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p01.html
อัตราเร็ว และความเร็ว เป็นปริมาณที่แสดงให้ทราบลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุ ถ้าในทุก ๆ หน่วยเวลาของการเคลื่อนที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยขนาดของอัตราเร็ว หรือ ความเร็วเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ เรียกว่าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอหรืออัตราเร็วคงที่ ถ้าพิจราณาแล้วพบว่าในแต่ละหน่วยเวลาของการเคลื่อนที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วหรือความเร็วที่แตกต่างกัน กล่าวว่า วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่ง หรือ ความเร่ง ในกรณีนี้การหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็ว

ตอบ ข้อ3.




วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 2 รหัส ว 42282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 5
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายลักษณะและโครงสร้างของโลก
2. สำรวจ สืบค้นข้อมูล ทางด้านธรณีวิทยาในท้องถิ่น อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค
3. สำรวจ ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรณี ความสำคัญ ผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและการนำไปใช้ประโยชน์
4. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการศึกษาประวัติทางธรณีจากซากดึกดำบรรพ์ การเปรียบเทียบลำดับชั้นหิน และอายุของหิน
5. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ พลังงานของดาวฤกษ์ ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
6. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะและกาแล็กซี
7. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและโครงการอวกาศที่สำคัญ
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอการใช้ประโยชน์ ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ ในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับอดีต และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆบนโลก
9. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
10. คำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
11. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไตล์และการใช้ประโยชน์
12. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบวงกลม และการใช้ประโยชน์
13. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก และการใช้ประโยชน์
14. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง และการนำไปใช้ประโยชน์
15. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์
16. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามแม่เหล็ก และการนำไปใช้ประโยชน์

ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.5 ที่ http://m5term2debsamut.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.5 ส่งที่ karnpitcha_jee@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 5/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-5328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป